หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์
หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2565
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) :            ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์)

ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) :      Doctor of Philosophy (Public Administration)

ชื่อย่อ (ภาษาไทย) :            ปร.ด. (รัฐประศาสนศาสตร์)

ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) :       Ph.D. (Public Administration)

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

    (1) แบบ 1.1  เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัย โดยมีการทำวิทยานิพนธ์ที่ก่อให้เกิดความรู้ใหม่ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต                                                                                                           

    (2) แบบ 2.1 เป็นแผนการศึกษาที่มีการศึกษารายวิชา ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต  และการทำวิทยานิพนธ์ที่มีคุณภาพสูง ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต รวมไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต

รูปแบบของหลักสูตร

    ก. หลักสูตรระดับปริญญาเอก หลักสูตร 3 ปี

    ข. เป็นหลักสูตรที่ใช้เวลาในการศึกษาแบบเต็มเวลา (Full-time study)

แนวทางประกอบอาชีพ

        1.อาจารย์ นักวิจัย และนักวิชาการในมหาวิทยาลัยภาครัฐ หรือ ภาคเอกชน

        2.ข้าราชการ พนักงานในหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือ องค์การมหาชน

        3.นักธุรกิจ พนักงาน ลูกจ้างในภาคธุรกิจเอกชน

       4.นักการเมือง

       5.เจ้าหน้าที่บริหารงานขององค์กรไม่แสวงหาผลกำไร

      6.นักวิชาการอิสระ

ค่าธรรมเนียมการศึกษา

       ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 75,000 บาท

โครงสร้างหลักสูตร
          1.1 จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร

                   แบบ 1.1   ไม่น้อยกว่า  48 หน่วยกิต

                   แบบ 2.1   ไม่น้อยกว่า  48 หน่วยกิต

         1.2 โครงสร้างหลักสูตร

                    โครงสร้างหลักสูตร แบ่งออกเป็น 3 หมวดวิชา ซึ่งสอดคล้องกับที่กำหนดไว้ในเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ พ.ศ. 2558 โดยจัดเป็น 2 แบบ คือ แบบ 1.1 และ แบบ 2.1  ประกอบด้วยรายละเอียด ดังนี้

                   ก. แบบ 1.1     จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร    48    หน่วยกิต

                                            1) หมวดวิทยานิพนธ์                            48     หน่วยกิต

                  ข. แบบ 2.1    จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร      48    หน่วยกิต

                                            1) หมวดวิชาบังคับ                                12    หน่วยกิต

                                              1.1) กลุ่มวิชาเสริมพื้นฐาน                     9  หน่วยกิต*

                                              1.2) กลุ่มวิชาเลือก                              12 หน่วยกิต

                                          2) หมวดวิทยานิพนธ์                              36 หน่วยกิต

หมายเหตุ * หมายถึง รายวิชาที่ไม่นับหน่วยกิต

(การเรียนรายวิชาที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัย หรือนอกมหาวิทยาลัยให้อยู่ในดุลยพินิจของอาจารย์ที่ปรึกษาหรือ คณะกรรมการบริหารหลักสูตร)